ความเป็นมาของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
กิจกรรมการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “
แม่ฟ้าหลวง ” เมื่อปี 2523 กรมการศึกษานอกโรงเรียน ( กศน. )
ในขณะนั้น ได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา( ศศช. ) ขึ้นโดยส่งครูอาสา
หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ครูดอย 1 - 2 คน เข้าไปฝังตัวพักอยู่กับประชาชนในชุมชนและมีการสร้างอาคารขนาดเล็กเรียกว่า
อาศรม ด้วยวัสดุท้องถิ่น
เพื่อให้บริการการศึกษาและพัฒนาชุมชนแก่ผู้ใหญ่ในเวลากลางคืนและสอนเด็ก ตั้งแต่อนุบาล
– ประถมศึกษาปีที่ 6 ในตอนกลางวัน
มุ่งให้สามารถช่วยเหลือตนเองและเป็นพลเมืองดีของชาติ ซึ่งโครงการ ศศช. นี้
ได้รับรางวัลจากองค์การยูเนสโกเมื่อปี 2537
ในฐานะที่เป็นแนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นพื้นฐานซึ่งมีการขยายเปิดตามชุมชนทุรกันดารถึง
773 แห่งเมื่อ พ.ศ. 2535 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงอ่านหนังสือพิมพ์
และทรงพบจดหมายของครูอาสาสมัคร คนหนึ่ง ที่ ศศช.บ้านใหม่ห้วยหวาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
บรรยายความยากลำบากในการเป็นครูดอยในถิ่นกันดาร
และขอรับการสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน และสิ่งของ เครื่องใช้ในอาศรม
ศศช.พระองค์ทรงมีความสนพระทัยที่จะพระราชทานความช่วยเหลือ
จึงมอบหมายให้นายบุญธันว์ มหาวรรณ หัวหน้าคณะทำงานส่วนพระองค์
ไปสำรวจหาข้อมูล เพื่อให้ความช่วยเหลือ จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 80,000.-
บาท ให้สร้างอาคารขึ้นใหม่
และต่อมาได้พระราชทานความช่วยเหลือ และทรงรับ ศศช. ทุกแห่งไว้ในพระอุปถัมภ์ในปี พ.ศ. 2539 กรม กศน. ได้ตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขอพระราชทานชื่อของศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา ( ศศช. )
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา
“ แม่ฟ้าหลวง ” ซึ่งเป็นพระราชสมัญญานามของพระองค์ท่าน
“ แม่ฟ้าหลวง ” หรือ “ สมเด็จย่า ” แต่ชื่อย่อยังใช้ติดของเก่าว่า ศศช. เหมือนเดิม
การจัดการศึกษาสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง
หรือเดิมเรียกว่า ศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา ( ศศช. ) หรือจะพูดง่ายๆ
และพูดจนติดปากว่า “ การศึกษาชาวเขา
” ไม่ว่าจะพูดในลักษณะใดงานที่ดำเนินการก็คือ
การให้บริการด้านการศึกษาสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูง ซึ่งประกอบด้วยประชากรหลายเผ่าพันธุ์
หลากหลายเชื้อชาติ และชาติพันธุ์ วิธีการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ก็ไม่แตกต่างจากการจัดการศึกษาสำหรับชุมชนบนพื้นราบ
แต่ถ้าพูดถึงกระบวนการการจัดการศึกษา ทั้งด้านหลักการ
เป้าหมาย และกระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ก็ค่อนข้างจะแตกต่างกันบ้าง เพราะชุมชน บนพื้นที่สูงมีความแตกต่างกันหลายๆ ด้าน เช่น ความแตกต่างทางด้านภูมิประเทศ ความแตกต่าง ในวิถีชีวิตความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ความแตกต่างทางด้านความพร้อม ในการสื่อสารและการคมนาคม ดังนั้น เป้าหมาย ( goal
) ของการจัดการศึกษาสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง
จึงเป็นไปตามหลักการและกระบวนการเรียนรู้ ที่ถูกกำหนดขึ้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น